เคมี 1 (สารละลาย)



สารละลาย (solution)



การละลายของสารในตัวทำละลาย

สารชนิดเดียวกันละลายในตัวทำละลายต่างชนิดได้แตกต่างกัน  คือ
1)  สารบางชนิดอาจไม่ละลายน้ำ แต่ละลายในตัวทำละลายชนิดอื่น  เช่น  ลูกเหม็น  เชลแล็ก ไม่ละลายน้ำ  แต่ละลายในแอลกอฮอล์
2)  สารบางชนิดอาจละลายได้ในตัวทำละลายหลายชนิด  เช่น  สีผสมอาหารละลายในน้ำ และละลายในแอลกอฮอล์
เมื่อใช้น้ำเป็นตัวทำละลาย  สามารถแบ่งสารออกเป็น  2  ประเภท  คือ  สารที่ละลายน้ำ  และสารที่ไม่ละลายน้ำ  จะเห็นว่าสารต่างชนิดกันละลายน้ำได้ต่างกัน
ถ้าตัวละลายเป็นของแข็งละลายในตัวทำละลายที่เป็นของเหลว  ตัวละลายจะแพร่ในตัวทำละลาย  เมื่อตัวละลายละลายหมด จะมองเห็นสารละลายเป็นเนื้อเดียวกัน ไม่มีตะกอน เนื่องจากตัวละลายที่เป็นของแข็งแทรกอยู่ในตัวทำละลาย  เช่น  การละลายของน้ำตาลในน้ำ  การละลายของเกลือในน้ำ  เป็นต้น  ในกรณีที่ตัวละลายไม่ละลายในตัวทำละลาย  แสดงว่าตัวละลายไม่สามารถแทรกตัวในตัวทำละลายชนิดนั้นได้  จึงมองเห็นไม่เป็นเนื้อเดียวกัน
ภาพแสดงการละลายของเกลือ

ความรู้เกี่ยวกับการละลายของสารในตัวทำละลายต่าง ๆ นำไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้หลายประการ เช่น สามารถใช้ตัวทำละลายสลายคราบต่าง ๆ ที่ติดอยู่บนเสื้อผ้าได้ เช่น ใช้แอลกอฮอล์ (เอทานอล) ลบรอยหญ้าหรือรอยหมึกจาง ๆ , น้ำเกลือลบรอยเลือด , น้ำนมลบรอยหมึก หรือ การนำเชลแล็กไปละลายในแอลกอฮอล์ก่อนแล้วจึงนำสารละลายเชลแล็กไปทาไม้หรือเฟอร์นิเจอร์ เพื่อให้เกิดความสวยงามและรักษาเนื้อไม้  เป็นต้น

ประเภทของสารละลาย


สารละลายมีหลายประเภท หากใช้เกณฑ์ในการจำแนก จะแบ่งสารละลายออกเป็น 3  กลุ่ม ดังนี้
1. จำแนกตามสถานะของสารละลาย แบ่งเป็น 3 ประเภท คือ
1.1   ของแข็ง เช่น เหรียญบาท ทองเหลือง นาก
1.2   ของเหลว เช่น สารละลายคอปเปอร์ (II) ซัลเฟต น้ำเชื่อม น้ำเกลือ
1.3   แก๊ส เช่น แก๊สหุงต้ม อากาศ
2. จำแนกตามปริมาณของตัวละลาย แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
2.1   สารละลายอิ่มตัว (Saturated  solution)  คือ สารละลายที่ตัวละลายไม่สามารถละลายในตัวทำละลายได้เพิ่มขึ้นอีกเมื่อตัวทำละลายและอุณหภูมิคงที่  ซึ่งอาจเป็นสารละลายอิ่มตัวพอดี  หรือสารละลายอิ่มตัวเหลือเฟือ  ถ้าเพิ่มความร้อนให้สารละลายอิ่มตัวเหลือเฟือละลายได้อีก  จะได้สารละลายอิ่มตัวยิ่งยวด
2.2   สารละลายไม่อิ่มตัว  (Unsaturated  solution)  คือ  สารละลายที่ตัวละลายยังสามารถละลายในตัวทำละลายได้อีก
3.   จำแนกตามความเข้มข้น   แบ่งเป็น  2  ประเภท   คือ
3.1   สารละลายเข้มข้น  คือ  สารละลายที่ประกอบด้วยตัวละลายปริมาณมาก  มีตัวทำละลายปริมาณน้อย
3.2   สารละลายเจือจาง  คือ  สารละลายที่ประกอบด้วยตัวละลายปริมาณน้อย  มีตัวทำละลายปริมาณมาก



Homepage


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

เคมี 2 (ตารางธาตุ)