เอกดนัย หล่าหา รับลิงก์ Facebook X Pinterest อีเมล แอปอื่นๆ Homepage Friendship72 อีกไม่กี่เดือนก็จะจบเเล้ว พวกเราก็ผ่านอะไรมากันเยอะ ก็เป็นเรื่องราวดีๆที่ผ่านเขา จะไม่ลืมใครเลย รับลิงก์ Facebook X Pinterest อีเมล แอปอื่นๆ ความคิดเห็น
เคมี 2 (ตารางธาตุ) ตารางธาตุ ตารางธาตุ ( อังกฤษ : Periodic table ) คือ ตาราง ที่ใช้แสดงรายชื่อ ธาตุเคมี ซึ่งจัดเรียงบนพื้นฐานของ เลขอะตอม (จำนวนโปรตอนในนิวเคลียส) การจัดเรียงอิเล็กตรอน และ สมบัติทางเคมี โดยจะเรียงตามเลขอะตอมที่เพิ่มขึ้น ซึ่งจะระบุไว้ในร่วมกับ สัญลักษณ์ธาตุเคมี ในกล่องของธาตุนั้น ตารางธาตุมาตรฐานจะมี 18 หมู่และ 7 คาบ และมีคาบพิเศษเพิ่มเติมมาอยู่ด้านล่างของตารางธาตุ ตารางยังสามารถเปลี่ยนเป็นการจัดเรียงตาม บล็อก โดย บล็อก-s จะอยู่ซ้ายมือ บล็อก-p จะอยู่ขวามือ บล็อก-d จะอยู่ตรงกลางและ บล็อก-f อยู่ที่ด้านล่าง แถวแนวนอนในตารางธาตุจะเรียกว่า คาบ และแถวในแนวตั้งเรียกว่า หมู่ โดยหมู่บางหมู่จะมีชื่อเฉพาะ เช่น แฮโลเจน หรือ แก๊สมีตระกูล โดยคำนิยามของตารางธาตุ ตารางธาตุยังมี แนวโน้ม ของสมบัติของธาตุ เนื่องจากเราสามารถใช้ตารางธาตุบอกความสัมพันธ์ระหว่างสมบัติของธาตุแต่ละตัว และใช้ทำนายสมบัติของธาตุใหม่ ธาตุที่ยังไม่ถูกค้นพบ หรือธาตุที่สังเคราะห์ขึ้น และด้วยความพิเ... อ่านเพิ่มเติม
เคมี 1 (สารละลาย) สารละลาย (solution) การละลายของสารในตัวทำละลาย สารชนิดเดียวกันละลายในตัวทำละลายต่างชนิดได้แตกต่างกัน คือ 1) สารบางชนิดอาจไม่ละลายน้ำ แต่ละลายในตัวทำละลายชนิดอื่น เช่น ลูกเหม็น เชลแล็ก ไม่ละลายน้ำ แต่ละลายในแอลกอฮอล์ 2) สารบางชนิดอาจละลายได้ในตัวทำละลายหลายชนิด เช่น สีผสมอาหารละลายในน้ำ และละลายในแอลกอฮอล์ เมื่อใช้น้ำเป็นตัวทำละลาย สามารถแบ่งสารออกเป็น 2 ประเภท คือ สารที่ละลายน้ำ และสารที่ไม่ละลายน้ำ จะเห็นว่าสารต่างชนิดกันละลายน้ำได้ต่างกัน ถ้าตัวละลายเป็นของแข็งละลายในตัวทำละลายที่เป็นของเหลว ตัวละลายจะแพร่ในตัวทำละลาย เมื่อตัวละลายละลายหมด จะมองเห็นสารละลายเป็นเนื้อเดียวกัน ไม่มีตะกอน เนื่องจากตัวละลายที่เป็นของแข็งแทรกอยู่ในตัวทำละลาย เช่น การละลายของน้ำตาลในน้ำ การละลายของเกลือในน้ำ เป็นต้น ในกรณีที่ตัวละลายไม่ละลายในตัวทำละลาย แสดงว่าตัวละลายไม่สามารถแทรกตัวในตัวทำละลายชนิดนั้นได้ จึงมองเห็นไม่เป็นเนื้อเดียวกัน ... อ่านเพิ่มเติม
เคมี 5 (สารอินทรีย์และสารอนินทรีย์) สารอินทรีย์และสารอนินทรีย์ สิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดต้องการอาหารแตกต่างกันออกไป และเมื่อได้รับอาหารเข้าไปก็จะย่อยและแปลงโครงสร้างโมเลกุลให้เล็กลง เพื่อให้ร่างกายสามารถนำไปใช้ได้โดยง่าย สารอาหารที่สิ่งมีชีวิตได้รับเข้าไปแบ่งได้เป็น 2 กลุ่มคือ สารอินทรีย์ (Organic) และสารอนินทรีย์ (Inorganic) สารอินทรีย์คือ สารที่มีธาตุคาร์บอนเป็นองค์ประกอบ โดยสามารถเกิดขึ้นได้ตามธรรมชาติหรือเกิดจากการสังเคราะห์ ยกเว้นสารในกลุ่มต่อไปนี้ - เกลือคาร์บอเนต (CO3 2- ) - ไฮโดรเจนคาร์บอเนต (HCO3 - ) - สารประกอบออกไซด์ของคาร์บอน เช่น คาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) - สารประกอบเกลือคาร์ไบด์ เช่น แคลเซียมคาร์ไบด์ (CaC2) - เกลือไซยาไนด์ - เกลือไซยาเนต - สารที่มีคาร์บอนเป็นองค์ประกอบเพียงธาตุเดียว เช่น เพชร โดยสารในกลุ่มดังกล่าวจะเรียกว่าเป็นกลุ่มสารอนินทรีย์ สารอินทรีย์ซึ่งพบได้ในธรรมชาติ จะเรียกว่า สารชีวโมเลกุล เป็นสารที่มักจะเกี่ยวพันกับเราในรูปแบบของอาหาร ยกตัวอย่างเช่น สารในตระกูลคาร์โบไฮเดรต ไขมัน โปรตีน วิตามิน และกรดนิ... อ่านเพิ่มเติม
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น